วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 5


จริยธรรมสารสนเทศและสิทธิทางปัญญา

1. อาชญากรรมคอมพิวเตอร์คืออะไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง

อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Cyber-Crime) เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อโจมตีระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลที่อยู่บนระบบดังกล่าว ส่วนในมุมมองที่กว้างขึ้น “อาชญากรรมที่เกี่ยวเนื่องกับคอมพิวเตอร์” หมายถึงการกระทำที่ผิดกฎหมายใดๆ ซึ่งอาศัยหรือมีความเกี่ยวเนื่องกับระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย อย่างไรก็ตาม อาชญากรรมประเภทนี้ไม่ถือเป็นอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์โดยตรง

ในการประชุมสหประชาชาติครั้งที่ 10 ว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด (The Tenth United Nations Congress on the Prevention of Crime and the Treatment of Offenders) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา เมื่อวันที่ 10-17 เมษายน 2543 ได้มีการจำแนกประเภทของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ โดยแบ่งเป็น 5 ประเภท คือ การเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต, การสร้างความเสียหายแก่ข้อมูลหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์, การก่อกวนการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย, การยับยั้งข้อมูลที่ส่งถึง/จากและภายในระบบหรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และการจารกรรมข้อมูลบนคอมพิวเตอร์

โครงการอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์และการโจรกรรมทรัพย์สินทางปัญญา (Cyber-Crime and Intellectual Property Theft) พยายามที่จะเก็บรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูล และค้นคว้าเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ 6 ประเภท ที่ได้รับความนิยม ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนและผู้บริโภค นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับขอบเขตและความซับซ้อนของปัญหา รวมถึงนโยบายปัจจุบันและความพยายามในการปัญหานี้

อาชญากรรม 6 ประเภทดังกล่าวได้แก่
1. การเงิน – อาชญากรรมที่ขัดขวางความสามารถขององค์กรธุรกิจในการทำธุรกรรม อี-คอมเมิร์ซ(หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์)
2. การละเมิดลิขสิทธิ์ – การคัดลอกผลงานที่มีลิขสิทธิ์ ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและอินเทอร์เน็ตถูกใช้เป็นสื่อในการก่ออาชญากรรม แบบเก่า โดยการโจรกรรมทางออนไลน์หมายรวมถึง การละเมิดลิขสิทธิ์ ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อจำหน่ายหรือเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์
3. การเจาะระบบ – การให้ได้มาซึ่งสิทธิในการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และในบางกรณีอาจหมายถึงการใช้สิทธิการเข้าถึงนี้โดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้การเจาะระบบยังอาจรองรับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นๆ (เช่น การปลอมแปลง การก่อการร้าย ฯลฯ)
4. การก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์ – ผลสืบเนื่องจากการเจาะระบบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว เช่นเดียวกับการก่อการร้ายทั่วไป โดยการกระทำที่เข้าข่าย การก่อการร้ายทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-terrorism) จะเกี่ยวข้องกับการเจาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อก่อเหตุรุนแรงต่อบุคคลหรือทรัพย์สิน หรืออย่างน้อยก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว
5. ภาพอนาจารทางออนไลน์ – ตามข้อกำหนด 18 USC 2252 และ 18 USC 2252A การประมวลผลหรือการเผยแพร่ภาพอนาจารเด็กถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และตามข้อกำหนด 47 USC 223 การเผยแพร่ภาพลามกอนาจารในรูปแบบใดๆ แก่เยาวชนถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงช่องทางใหม่สำหรับอาชญากรรม แบบเก่า อย่างไรก็ดี ประเด็นเรื่องวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการควบคุมช่องทางการสื่อสารที่ครอบคลุมทั่วโลกและเข้าถึงทุกกลุ่มอายุนี้ได้ก่อให้เกิดการถกเถียงและการโต้แย้งอย่างกว้างขวาง
6. ภายในโรงเรียน – ถึงแม้ว่าอินเทอร์เน็ตจะเป็นแหล่งทรัพยากรสำหรับการศึกษาและสันทนาการ แต่เยาวชนจำเป็นต้องได้รับทราบเกี่ยวกับวิธีการใช้งานเครื่องมืออันทรงพลังนี้อย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบ โดยเป้าหมายหลักของโครงการนี้คือ เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดทางกฎหมาย สิทธิของตนเอง และวิธีที่เหมาะสมในการป้องกันการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด

2. อธิบายความหมายของ

Hacker หมายถึง ผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ เป็นอย่างมาก จนถึงระดับที่สามารถถอดหรือเจาะรหัสระบบรักษาความปลอดภัยของเครื่องคอมพิวเตอร์ของคนอื่นได้ โดยมีวัตถุประสงค์ในการทดสอบขีดความสามารถของตนเอง หรือทำในหน้าที่การงานของตนเอง เช่น มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบรักษาความปลอดภัยของเครื่องคอมพิวเตอร์ของเครือข่าย หรือองค์กร แล้วทำเพื่อทดสอบประสิทธิภาพ

Cracker มีความหมายอย่างเดียวกันกับ Hacker แต่ต่างกันตรงที่วัตถุประสงค์ในการกระทำ จุดมุ่งหมายของ Cracker คือ บุกรุกระบบคอมพิวเตอร์คนอื่นโดยผิดกฎหมายเพื่อทำลายหรือเอาข้อมูลไปใช้ส่วนตัว แต่โดยทั่วไปแล้วมักเข้าใจกันว่าเป็นพวกเดียวกันนั่นเอง คือมองว่ามีเจตนาไม่ดีทั้งคู่ ทั้งที่จริงๆแล้วไม่ใช่ครับ

Spam (สแปม) คือ การส่งข้อความถึงผู้ที่ไม่ต้องการรับ ก่อให้เกิดความรำคาญ ละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว และผิดกฏหมาย ลักษณะของสแปม คือ ไม่ปรากฏชื่อผู้ส่ง (Anonymous) ส่งโดยไม่เลือกเจาะจง (Indiscriminate) และ ส่งได้ทั่วโลก (Global) การ SPAM มีทั้ง การสแปมเมล์ (Spam Mail) และ การสแปมบอร์ด ( Spam Board )

โทรจัน (Trojan) ซึ่งหมายถึงโปรแกรมที่ออกแบบมาให้แฝงเข้าไปสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้อื่นในหลากหลายรูปแบบ เช่น โปรแกรม หรือ การ์ดอวยพร เป็นต้น เพื่อดักจับ ติดตาม หรือควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกคุกคาม

ม้าโทรจัน บางคนอาจมีทัศนคติที่ไม่ดีนัก คิดว่ามันคืออันตราย แต่จุดประสงค์ที่แท้จริงของ “ม้าโทรจัน” นั้นคือ โปรแกรมสำหรับใช้ทำหน้าที่ควบคุม คอมพิวเตอร์ ที่อยู่ในระยะห่างไกลออกไป เพื่อที่จะทำการช่วยเหลือ หรือทำการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลในเครื่องที่อยู่ห่างไกลโดยที่เราไม่จำเป็นต้องไปแก้ไขด้วยตนเอง แต่ในปัจจุบันที่เราพบในทุกวันนี้จะเป็นการใช้เพื่อแกล้ง หรือ รบกวนผู้อื่นมากกว่า เช่น เคยไหมที่เครื่องเรา shutdown , Restart หรือ CD-Rom เปิด-ปิดได้เองโดยที่เราไม่ได้ทำอะไรกับมันเลย และปัญหาจุกจิกอีกมากมาย ขณะเล่นอินเทอร์เน็ต แต่ปัญหาที่พบ ที่รุนแรงที่สุดคือการลักลอบเข้าไปขโมย Account และ password สำหรับการเข้าเล่นอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการใช้โปรแกรม “ม้าโทรจัน” ในทางที่ผิด

สปายแวร์ ก็คือ โปรแกรมเล็ก ๆ ที่ถูกเขียนขึ้นมาสอดส่อง (สปาย) การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ อาจจะเพื่อโฆษณาสินค้าต่าง ๆ สปายแวร์บางตัวก็สร้างความรำคาญเพราะจะเปิดหน้าต่างโฆษณาบ่อย ๆ แต่บางตัวร้ายกว่านั้น คือ ทำให้คุณใช้อินเตอร์เน็ทไม่ได้เลย ไม่ว่าจะไปเวบไหน ก็จะโชว์หน้าต่างโฆษณา หรืออาจจะเป็นเวบประเภทลามกอนาจาร พร้อมกับป๊อปอัพหน้าต่างเป็นสิบ ๆ หน้าต่าง

3. จงยกตัวอย่างกฎหมาย ICT หรือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มีอะไรบ้าง จงอธิบายถึงการกระทำผิดและบทลงโทษ มา 5 ตัวอย่าง

มาตรา 5 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบ ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตราการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 6 ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้น และนำไปเปิดเผยโดยมิชอบในการที่น่าจะเกิดความเสียหายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 7 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 8 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลนั้น มิได้มีไว้เพื่อสาธารณะประโยชน์ หรือ เพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 9 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือ เพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมด หรือ บางส่วนซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

ครั้งที่ 4


งานครั้งที่4

ข้อดีราคาถูก
เสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งน้อย
ใช้อย่างกว้างขวางในระบบโทรศัพท์
ข้อเสียอัตราเร็วในการส่งข้อมูลจะน้อยกว่าสายสัญญาณแบบอื่น
มีข้อจำกัดเรื่องความยาวของสายสัญญาณ
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารหรือ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ( MIS ) หมายถึง การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผลและการสร้างสารสนเทศขึ้นมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจ การประสานงานและการควบคุม นอกจากนั้นยังช่วยผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ในการวิเคราะห์ปัญหา แก้ปัญหาและสร้างผลิตภัณฑ์หรือผลงานใหม่โดยใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ( Hardware ) และโปรแกรม ( Software ) รวมทั้งผู้ใช้ (Peopleware) เพื่อก่อให้เกิดความสำเร็จในการได้มาซึ่งสารสนเทศที่มีประโยชน์ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารเป็นระบบซึ่งรวมความสามารถของผู้ใช้งานและคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศเพื่อการดำเนินงาน การจัดการและการตัดสินใจในองค์กร
เนื้อหาและการจัดโครงสร้างสารสนเทศ
เนื้อหาของการจัดการสารสนเทศครอบคลุมถึงเรื่องต่อไปนี้
1. 
ศาสตร์และศิลป์ในการจัดการและการตัดสินใจ
2. 
จิตวิทยาและพฤติกรรมการแสดงออกซึ่งจะเป็นตัวกำหนดถึงความสำเร็จหรือล้มเหลวของระบบสารสนเทศ
3. 
สภาพแวดล้อม ( Environment ) และการผลักดันทางเทคโนโลยีเพื่อก่อให้เกิดโอกาสในการใช้ข้อมูลเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
4. 
วิธีการสร้างระบบสารสนเทศเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ในการช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ ( Decision Support System )
ระบบ Bus การเชื่อมต่อแบบบัสจะมีสายหลัก เส้น เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งเซิร์ฟเวอร์ และไคลเอ็นต์ทุกเครื่องจะต้องเชื่อมต่อสายเคเบิ้ลหลักเส้นนี้ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกมองเป็น Node เมื่อเครื่องไคลเอ็นต์เครื่องที่หนึ่ง (Node A) ต้องการส่งข้อมูลให้กับเครื่องที่สอง (Node C) จะต้องส่งข้อมูล และแอดเดรสของ Node C ลงไปบนบัสสายเคเบิ้ลนี้ เมื่อเครื่องที่ Node C ได้รับข้อมูลแล้วจะนำข้อมูล ไปทำงานต่อทันที
อินเทอร์เน็ตสามารถให้ผู้เรียนติดต่อสื่อสารกับผู้คนทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว
และสามารถสืบค้นหรือเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศจากทั่วโลก จึงทำให้เกิดการเรียนรู้ตามอัธยาศัยการประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตกับกิจกรรมตามหลักสูตรเดิมที่มีอยู่ ทำให้ผู้เรียนเกิด ทักษะในด้านการคิดอย่างมีระบบ (High - Order Thinking Skills) การคิดเชิงวิเคราะห์ (Critical Thinking) การวิเคราะห์สืบค้น (Inquiry - Based Analytical Skill) การวิเคราะห์ข้อมูล การแก้ปัญหา และการคิดอย่างอิสระเป็นการสนับสนุนกระบวนการสหสาขาวิชาการ (Interdisciplinary) คือ ในการนำ เครือข่ายมาใช้เชื่อมโยงกับกิจกรรมการเรียนการสอนนั้น นักการศึกษาสามารถที่จะบูรณาการการเรียนการสอนในวิชาต่างๆ เช่นคณิตศาสตร์ ภูมิศาสตร์ สังคม ภาษา วิทยาศาสตร์ ฯลฯ เข้าด้วยกันอินเทอร์เน็ตเมื่อนำมาใช้ในการพัฒนาการศึกษาก็จะทำให้เกิดประโยชน์และสร้าง ความเท่าเทียมกันในด้านการศึกษาให้มากยิ่งขึ้น

ครั้งที่ 3


การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์

1. ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิคส์แบ่งได้กี่วิธี อะไรบ้าง
สามารถแบ่งออกได้ 3 วิธี
1. ขั้นเตรียมข้อมูล
เป็นการเตรียมข้อมูลเพื่อให้สะดวกต่อการประมวลผล ซึ่งมี 4 วิธี
1.1  การลงรหัส
1.2  การตรวจสอบ
1.3  การจำแนก
1.4  การบันทึกข้อมูลลงสื่อ
2. ขั้นตอนการประมวลผล
คือ เป็นการนำเอาโปรแกรมที่เขียนขึ้น มาใช้เพื่อประมวลผลข้อมูลที่เตรียมไว้และข้อมูลยังคงเก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นวิธีการผลิตสารสนเทศต่างๆ เช่น
2.1  การคำนวณ
2.2  การเรียงลำดับข้อมูล
2.3  การสรุป
2.4  การเปรียบเทียบ
3. ขั้นตอนการแสดงผลลัพธ์
เป็นขั้นตอนการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ อาจอยู่ในรูปแบบ เอกสาร,รายงาน,การนำเสนอบนจอภาพ โดยการใช้คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
2. จงเรียงลำดับโครงสร้างข้อมูลจากขนาดเล็กไปใหญ่พร้อมอธิบายความหมายของโครงสร้างข้อมูลแต่ละแบบ
บิต(Bit) หน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูล,เลยฐาน 2 คือ 0,1
ไบต์(Byte) การนำบิตมารวมกัน,เรียกว่า ตัวอักขระ,ตัวอักษร
ฟิลด์(Field) การนำไบต์หลายๆ ไปมารวมกัน,เรียกว่า เขตข้อมูล
เรคอร์ด(Record) การนำฟิลด์หลายๆ ฟิลด์มารวมกัน,เรียกว่า ระเบียน
ไฟล์(File)การเรคอร์ดหลายๆ เรคอร์ดมารวมกัน,เรียกว่า แฟ้มข้อมูล
ฐานข้อมูล(Database) การนำไฟล์หลายๆ ไฟล์มารวมกัน,เรียกว่า ฐานข้อมูล
3. หากนำเอาระบบฐานข้อมูลมาใช้ในหน่วยงานที่นักศึกษาทำงานอยู่ สามารถมีแฟ้มข้อมูลใดบ้าง และระบบฐานข้อมูลนั้นมีประโยชน์ต่อองค์กรอย่างไร
แฟ้มข้อมูลของ เครื่องคอมพิวเตอร์
แฟ้มข้อมูลของ ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์
แฟ้มข้อมูลของ User
แฟ้มข้อมูลของ แผนก
แฟ้มข้อมูลของ Access Code
ประโยชน์ของระบบฐานข้อมูล
ข้อมูลในระบบฐานข้อมูลสามารถใช้ร่วมกันได้
ลดความซ้ำซ้อนน้อยลง
สามารถบังคับให้เกิดมาตรฐานได้
ระบบฐานข้อมูลให้เกิดความเป็นอิสระของข้อมูลได้
ระบบฐานข้อมูลช่วยหลีกเลี่ยงหรือลดความไม่คงที่ของข้อมูลได้
มีความรวดเร็ว
มีความกะทัดรัด
4. จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการประมวลผลข้อมูลแบบแบชและแบบเรียลไทม์
การประมวลผลแบบกลุ่ม (Batch Processing)
รวบรวมข้อมูล และแบ่งแยกข้อมูลออกเป็นกลุ่ม แล้วจึงส่งเครื่องคอมพิวเตอร์
ทำการประมวลผลครั้งเดียว
จะไม่มีการโต้ตอบกันระหว่างผู้ใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์
การประมวลผลแบบเวลาจริง (Real Time Processing)
การประมวลผลที่เมื่อทำการส่งข้อมูลเข้าไปในคอมพิวเตอร์แล้วจะได้ผลลัพธ์ออกมาทันที
แสดงผลข้อมูลทันทีทันใด โดยแสดงผลทาง Output
การใช้บริการบัตรเครดิตตามห้างร้านต่างๆ

ครั้งที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

ครั้งที่ 2

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

1. จงอธิบายความหมาย พร้อมยกตัวอย่างของค่าดังต่อไปนี้
Hardware หมายถึง อุปกรณ์ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโดรงร่างสามารมมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น
Software หมายถึง เป็นองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ที่เราไม่สามารถสัมผัสจับต้องได้โดยตรง เป็นชุดดำสั่งหรือโปรแกรม (Program) ที่เขียนขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์ จึงเป็นเสมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ให้สามารถเข้าใจกันได้
Peopleware หมายถึง บุคลากรในงานด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งาน สั่งงานเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ แบ่งออกได้ ระดับ ดังนี้
1. ผู้จัดการระบบ (System Manager) คือผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมาย
2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) คือที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่แบะทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู้เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน
3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer) คือผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้
4. ผู้ใช้ (User) คือผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง แบะวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ
Data หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือสาระต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับงานที่ปฏิบัติ อาจเป็นตัวเลขหรือข้อความที่เกิดขึ้นจาก การ ดาเนินงาน หรือที่ได้จากหน่วยงานอื่น ๆ ข้อมูลเหล่านี้ ยังไม่สามารถนาไปใช้ประโยชน์ ในการตัดสินใจได้ทันที จะนาไปใช้ได้ก็ต่อเมื่อผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว
Information หมายถึง สิ่งที่ได้จากการประมวลผลของข้อมูล เพื่อให้สามารถนามาใช้ประโยชน์ในด้านการวางแผน การพัฒนา การควบคุม และการตัดสินใจ สารสนเทศที่ดีจะต้องมีความถูกต้อง สมบูรณ์ น่าเชื่อถือ มีความทันสมัย โดยมีรูปแบบการนาเสนอที่สวยงาม ชัดเจน น่าสนใจ และเข้าใจได้ง่าย
2. หากนักศึกษาเป็นเจ้าของธุรกิจ ดังต่อไปนี้ (เลือก 1 ธุรกิจจะนำองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ ได้แก่ Hardware ,Software และ Peopleware ใดมาใช้ในธุรกิจบ้าง เพราะเหตุใดจงอธิบาย
ร้านขายของสะดวกซื้อ หน้าเคาน์เตอร์ จะมีคอมพิวเตอร์ หน้าจอทัชสกรีน อยู่ 3 เครื่อง เอาไว้ชำระเงินจากลูกค้าหรือให้บริการอื่นๆที่ลูกค้าต้องการที่หน้าเคาน์เตอร์และยังมีเครื่อง TM-U330B Dot Matrix Receipt Printer เครื่องพิมพ์ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี,เครื่อง DSP-830-A-SB-U LCD display 20x2 6x13.95mm. character black square base (A Type) USB ขนาดจอแสดงผล LCD ขนาดใหญ่ 20 ตัวอักษร 2 บรรทัด เพื่อใช้แสดงรายการที่ซื้อ,ราคา และใช้โปรแกรม WP-PRO WePOS Ready Professional ระบบบริหารการขายหน้าร้าน,เครื่องยิงบาร์โค้ด และยังมีระบบรักษาความปลอดภัยหรือ CCTV กล้องวงจรปิด หน้าเคาน์เตอร์จะมีหน้าจอแสดงผลกล้องต่างๆ อีกด้วย และจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ตรงกลางอีกหนึ่งเครื่องเอาไว้ให้ลูกค้าหาสินค้าที่ต้องการว่าอยู่ที่ส่วนของร้าน และราคาเท่าไร และส่วนลดในตอนนั้นได้อีกด้วย และยังมีระบบรวบรวมข้อมูลว่าสินค้าตัวไหนมียอดซื้อมากที่สุดและน้อยที่สุดและจัดทำเป็นข้อมูลสารสนเทศและจัดทำแสดงที่หน้าจอคอมพิวเตอร์เครื่องกลางเพื่อกระตุ้นยอดขายได้อีกด้วย






3. ให้นักศึกษาแสดงข้อมูล จำนวน 1 ชุด พร้อมทั้งแสดงในรูปแบบของระบบสารสนเทศ

3. ให้นักศึกษาแสดงข้อมูล จำนวน 1 ชุด พร้อมทั้งแสดงในรูปแบบของระบบสารสนเทศ
แบบข้อมูล



แบบสารสนเทศ

ครั้งที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ

ครั้งที่ 1

ข้อ.1
เทคโนโลยี หมายถึง การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ หรือความรู้ด้านอื่นๆ ที่ได้จัดระเบียบดีแล้วมาประยุกต์ใช้ในด้านใดด้สนหนึ่ง เพื่อให้งานนั้นมีความสามารถและประสิทธิภาพ
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านกนะบวนการเก็บรวบรวมและเรียบเรียงเพื่อใช้เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้
เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้ในงานที่เกี่ยวกับการประมวลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ซื้อเทคโนโลยีที่ใช้เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กับเทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อช่วยในการสื่อสาร และการส่งผ่านข้อมูลและสานสนเทศได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น
ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ ปรากฏการณ์ คน สิ่งของ ฯลฯ ที่เราสนใจบันทึกเก็บใว้ใช้งาน
ฐานความรู้ คือ สารสนเทศที่ได้จัดเป็นโครงสร้างความรู้ความเข้าใจ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญและต้องมีคุณค่าเพื่อแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานต่างๆได้

ข้อ.2
1.ระดับล่างสุด เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานประมวลผลข้อมูล ซื้อเรียกว่าระบบการประมวลผลรายการ
2.ระดับที่สอง เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศ เพื่อใช้ในการวางแผนการตัดสินใจและการควบคุมที่เกี่ยวเนื่องกับงานประจำวัน ซื้อเรียกว่า งานควบคุมการดำเนินงาน
3.ระดับที่สาม เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จำทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดการระดับกลางใช้ในการจัดการและวางแผนระยะสั้นตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 1 ปี ชื่อเรียกว่า งานควบคุมการจัดการ
4.ระดับที่สี่ เป็นการใช้งานวางแผนระยะยาว ซื้อเรียกว่าการวางแผนกลยุทธ์
ข้อ.3
ยุคการประมวลผลช้อมูล เป็นยุคแรกๆของการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ วัตถุประสงค์ช่วงนั้น
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เป็นยุคการนำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการตัดสินใจ ดำเนินการควบคุมติดตามผล
ระบบจัดการทรัพยากรสานสนเทศ เป็นการใช้สารสนเทศเพื่อช่วยมรการตัดสินใจในการนำเอาองค์กรหรือหน่วยงานไปสู่ความสมเร็จ
ยุคเทศโนโลยีสารสนเทศ ปัจจุบันเทคโนโลยีมีความเจริญอย่างรวมเร็ว ทำให้มีทางเลือกและเกิดรูปแบบใหม่ๆ ของสินค้าและบริการ

นำเสนอ เทคโนโลยีสารสนเทศ




















ประวัติส่วนตัว


ประวัติส่วนตัว

นายสันติภาพ  สุวรรณพิทักษ์         ชื่อเล่น ติ

เกิดวันพุธ ที่ 18 มีนาคม 2535

จบการศึกษา

ม.ต้น-ม.ปลาย โรงเรียนบ้านค่าย

ปวส.วิทยาลัยเทคโนโลยีระยองบริหารธุรกิจ

กีฬาที่ชอบ

ฟุตบอล,ซุตซอล,เปตอง

คติประจำใจ
ชีวิตเป็นของเรา อย่าให้ใครมาลิขิต